เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ในเวลางาน: เป็นคนตั้งใจทำงานอย่างจริงจัง เพื่อให้งานนั้นๆ สำเร็จได้อย่างราบรื่น (ท้อแท้บางในบางครั้ง), นอกเวลางาน: ง่ายๆ สบายๆ ชอบท่องเที่ยว ปาร์ตี้สังสรร เป็นคนสนุกสนาน ร่าเริง อารมณ์ขัน ยิ้มเก่ง (โดยเฉพาะตอนเริ่มกึ้มๆ แล้วอ่ะ 555)

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ปราชญ์การเงิน ใน‘ไซเบอร์สเปซ’

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทต่อชีวิตคน จนเรียกได้ว่าเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียนรู้ทั้งคนรุ่นใหม่และรุ่นเก่าจำนวน มากเลือกที่จะเปิดคอมพิวเตอร์เป็นอย่างแรกเมื่อถึงที่ทำงานหรือถึงบ้าน แทนที่จะเปิดหนังสือหรือเปิดโทรทัศน์เช่นเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา
พฤติกรรม ของนักลงทุนส่วนหนึ่ง ก็เริ่มเปลี่ยนไปเช่นกัน จากเดิมที่นักลงทุนจะติดตามรายงานวิเคราะห์จากสถาบันการเงิน หรือติดตามจากผู้รู้ที่เป็นที่ยอมรับในสังคม

นักลงทุนส่วนหนึ่งเลือกที่จะติดตามจาก Blog (หรือ Weblog ซึ่งเป็นบันทึกความคิดเห็นของผู้เขียนที่เรียกว่า Blogger ในเรื่องราวต่างๆ)

เมื่อมีคนนิยมเข้าไปดูมากๆ เขาก็มีการพูดถึง “ปากต่อปาก” Blog นั้นก็จะเป็นที่นิยม

ในบางครั้งสำหรับ Blog ที่มีผู้ติดตามมากๆ ผู้เขียนก็จะถูกยกระดับจนเปรียบเสมือน “ปราชญ์หรือกูรู” สำหรับผู้ที่เฝ้าติดตามความคิดเห็นต่างๆ อย่างใกล้ชิดทั้งหลาย

ปราชญ์อินเทอร์เน็ตรายหนึ่งที่ได้รับความนิยมถึงขนาดสร้างแรงสะเทือนให้กับตลาดการเงิน คือผู้ที่ใช้นามแฝงในสังคมอินเทอร์เน็ตว่า Minerva ซึ่งเป็นชื่อของเทพธิดาแห่งการค้าและความรอบรู้

เทพองค์นี้มีความสามารถในการหยั่งรู้อนาคตด้วย แต่ละบทความใน Blog ของ Minerva นี้มีผู้เข้าไปอ่านเกิน 1 แสนคนขึ้นไป รวมทุกบทความมีคนเข้าไปอ่านเกิน 40 ล้านครั้ง

Minerva โด่งดังยิ่งขึ้นหลังจากทำนายว่า Lehman Brothers จะล้มละลาย 5 วัน ก่อนหน้าที่บริษัทจะประกาศล้มละลายจริง

และยังได้ทำนายว่าค่าเงินวอนเกาหลีใต้จะอ่อนตัวอย่างรุนแรงเพียงไม่กี่วันก่อนที่เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้น

จุดจบของ Minerva เกิดจากบทความของเขาในวันที่ 29 ธ.ค. 2551 ซึ่งระบุว่า รัฐบาล เกาหลีใต้สั่งห้ามธนาคารซื้อเงินเหรียญสหรัฐ ข่าวนี้ทำให้มีคนเทขายเงินวอนออกมาจำนวนมาก ทำให้ทางการต้องนำเงินสำรองทางการจำนวนถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มาพยุงค่าเงินวอนไม่ให้ดิ่งลงต่อ

และนำไปสู่การบุกค้น และจับกุม Minerva ในวันที่ 7 ม.ค. 2552 ด้วยข้อหาปล่อยข่าวลือที่ทำลายเสถียรภาพของระบบ โดยมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 5 ปี

จุดจบของ Minerva นำไปสู่การเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของกูรูรายนี้ ซึ่งก็คือ นายปาร์ก เด ซอง (Park Dae-Sung) อายุ 31 ปี คนตกงานที่ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว

นายปาร์ก เด ซอง จบการศึกษาด้านการสื่อสารจากมหาวิทยาลัยใน ต่างจังหวัดของเกาหลีใต้ และมีผลการเรียนไม่โดดเด่น สิ่งที่เขานำมาเขียนในบทความนั้นได้จากการอ่านหนังสือและท่องอินเทอร์เน็ต ล้วนๆ

บทเรียนที่ได้จากกรณี Minerva นั้น มีทั้งด้านดีและด้านมืด

ด้านดี คือ แสดงถึงบทบาทของการเรียนรู้ผ่านทาง Internet ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลฟรีที่กว้างใหญ่ไพศาลนั้น หากใช้ให้เป็นก็จะได้ความรู้เช่นเดียวกับ Minerva ที่นำมาเขียนบทความและให้ผลการวิเคราะห์ที่นำไปใช้ได้จริง

ด้านมืด คือ ในบางครั้งผู้เขียนบทความก็ไม่เปิดเผยตัว ทำให้การนำข้อมูลไปใช้นั้นต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะในเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูล (หรือในภาษาเน็ตที่ว่า AYOR-at your own risk)

นอกจากนี้ ยังเป็นช่องทางในการปล่อยข่าวลือ ที่ผู้ปล่อยสามารถหากำไรได้จากการปล่อยข่าวโดยเล็ดลอดจากการตรวจสอบของ ทางการ

สำหรับในประเทศไทยนั้น Pantip.com “ห้องสินธร” ก็มีข้อมูลค่อนข้างมาก แต่ต้องพิจารณาเรื่องที่มาและคุณภาพข้อมูลด้วย

Blog ที่ผมเห็นว่ามีคุณภาพคับแก้วที่พอแนะนำได้คือ http:// www.moneychannel.co.th/Blog/Kobsak/tabid/164/Default. aspx

สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารปัจจุบันเชิงลึก และ http://api. settrade.com/blog/nivate/โลกในมุมมองของ%20Value% 20Investor% สำหรับแง่คิดที่ดี โดยเฉพาะกับนักลงทุนประเภท Value Investor

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น